วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

20.ก้อยไข่มดเเดง จากเมนูของครัวข้างทุ่งสู่ภัตตราคารสุดหรู เมนูนั่นก็คือก้อยไข่มดแดง  หรือยำไข่มดแดง นั่นเอง ก็เพราะว่าไข่มดแดงมันราคาดีนี่แหละ เลยมีคนทำฟาร์มไข่มดแดงเลยทีเดียว แถมทำเป็นงานวิจัยของ ม.เกตร ออกมายืนยันอีกเสียง  นอกจากนี้ไข่มดแดง ยังมีคุณค่าทางอาหาร คือมีโปรตีนสูง 8.2 กรัม/100 กรัมของไข่มดเลยทีเดียว
19.เเกงหน่อไม้ หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมต้มหน่อไม้ต้องใส่ใบย่านาง ? ก็เพราะมีความเชื่อกันมาว่า หน่อไม้มีฤทธิ์ร้อน กินมาก ๆ จะทำให้ท้องอืด จึงต้องแก้ด้วยน้ำใบย่านางซึ่งมีฤทธิ์เย็น นี่เองที่ทำให้หน่อไม้กับใบย่านางกลายเป็นของคู่กันไปซะแล้ว
18.แนมเหลือง (บั่นแซ่ว) หรือ "ขนมเบื้องญวน" ทำจากแป้งชนิดหนึ่ง เวลานำไปทอดจะราดลงในกระทะแล้วพลิกกระทะไปมาเพื่อเกลี่ยแป้งให้แผ่ออกจนบางกรอบ ระหว่างรอแป้งสุกใส่ผักสดนานาชนิด และหมูยอ หรือแหนมส้มหั่นเป็นชิ้นลงไป ใส่ไข่ เมื่อสุกดีแล้วจะตลบแป้งห่อคล้ายกับการทำผัดไทไข่ห่อ รับประทานพร้อมน้ำปรุงรส จัดเป็นอาหารว่างหรืออาหารระว่างวันอีกชนิดหนึ่ง
17.ยอดิบ (แนมดิบ)/ ยอจื่น (แนมจื่น) หรือปอเปียะญวน ใช้แป้งข้าวเหนียวเป็นแผ่น (ชนิดเดียวกับที่ใช้ห่อเหนมเนือง) ใส่ผักกาดสลัด ถั่วงอก แตงกวา หรือแครอท ข้าวคั่ว หมูต้มซอยเป็นเส้นเล็กๆ ถ้ากินดิบ จะเรียก “ยอดิบ หรือแนมดิบ” ถ้านำไปทอดจะเรียก “ยอจื่น (แนมจื่น)”
16.ข้าวแลงฟืน” มีที่มาจากอาหารของชาวไทลื้อ หน้าตาคล้ายแป้งนึ่ง กินกับน้ำปรุงรสทำจากมะเขือเทศ (หมากเล็น) ส้มมะขาม ผสมกับถั่วเน่า เวลารับประทานจะตัดแป้งเป็นก้อนสี่เหลี่ยมคล้ายลูกเต๋า แล้วราดด้วยน้ำปรุงรส โรยหน้าด้วยผักชี นิยมกินเล่นเป็นอาหารว่างในช่วงกลางวันมากกว่าจะเป็นอาหารมื้อหลัก
15.ข้าวปุ้น” เป็นอาหารเช้าอีกประเภทหนึ่งคล้ายต้มเครื่องในหมู หรือเครื่องในวัว แต่ใส่เส้นขนมจีน หรือเส้นข้าวปุ้นลงไปด้วย มีทั้งแบบน้ำใส และน้ำข้น (น้ำพริก) ให้เลือกรับประทานตามชอบ
14.แจ่วบอง เป็นน้ำพริกเผาชนิดหนึ่ง ไม่มีน้ำมันมากเหมือนน้ำพริกเผาไทย  แต่ไม่แห้งร่วนเหมือนน้ำพริกปลาย่าง ส่วนสำคัญคือต้องใส่หนังหมู หรือหนังควายหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมอยู่ในเนื้อน้ำพริกด้วย (บางตำรับไม่ใส่)เวลากินจะกรุบๆ อร่อยใช้ได้ทีเดียว ไคแผ่นทอด (จื่นไคแผ่น) เป็นอาหารว่าง หรือของแกล้มที่ชาวหลวงพระบางนิยมรับประทานกัน และมักจิ้มกับแจ่วบอง เพื่อเพิ่มรสชาติให้กล่อมกลมมากยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

13.ข้าวซอยหลวงพระบาง ชื่อว่า “ข้าวซอย” คงทำให้หลายคนนึกไปถึงข้าวซอยของทางเชียงใหม่ แต่ที่จริงข้าวซอยหลวงพระบางก็คือ “เฝอ” หรือก๋วยเตี๋ยว แต่ราดหน้าด้วยเครื่องข้าวซอย (ภาษาลาวเรียก “น้ำหน้าข้าวซอย”) ซึ่งประกอบไปด้วยหมูสับ หนังหมู มะเขือเทศ นำมาผัดในกระทะ แล้วปรุงรส เมื่อสุกดีแล้ว ตักใส่ภาชนะแช่เก็บไว้ในตู้เย็น
12.ลาบไก่งวง ไก่งวงเข้ามาสู่ครัวของชาวหลวงพระบางตั้งแต่ในสมัยฝรั่งเศสปกครอง ลาบไก่งวงมักทำในวาระพิเศษเช่น งานแต่งงาน งานฉลองขึ้นบ้านใหม่ งานออกเดือน เป็นต้น ใช้เนื้อไก่งวงสับ มาคั่วจนแห้ง คลุกกับหัวปลีซอย กระเทียมเจียว หอมแดงเจียว ข้าวเหนียวคั่ว ใส่พริกป่น บีบมะนาว โรยหน้าด้วยใบสาระแหน่
11.ซุปผักชื่อว่าซุป แต่อาหารชนิดนี้ไม่ได้เป็นแบบน้ำซุปทั่วไป แต่หน้าตาดูเหมือนยำชนิดหนึ่ง ส่วนประกอบมีผักต่างๆ ลวก แล้วคลุกด้วยงาดำ กระเทียมเผา หอมแดงเผา ขิงเผา พริกคั่ว ผสมให้เข้ากัน นิยมกินกับไคแผ่นทอดกรอบ หรือข้าวโคบ (ข้าวพอง)
10.หมกปลาเป็นอาหารลาวที่มีหน้าตาคล้ายห่อหมก ส่วนผสมมีข้าวเหนียว ตะไคร้ หอม ผักชีลาว ใบแมงลัก พริก และกระเทียม ใส่เนื้อไก่ หรือปลาก็ได้ เอาข้าวเหนียวต้มบดคลุกเคล้าส่วนผสมแล้วห่อด้วยใบตอง ก่อนนำไปนึ่งจนสุก

9.เอาะหลาม ถือเป็นอาหารลาวประจำเมืองหลวงพระบาง ซึ่งหากินไม่ได้ในถิ่นอื่นของประเทศลาว ส่วนประกอบที่สำคัญคือ ข้าวเหนียว ถั่ว พริก มะเขือม่วง ตะไคร้ ตำลึง เห็ดหูหนู และที่ขาดไม่ได้คือ “สะคาน” (เป็นเถาไม้ชนิดหนึ่ง มีรสฝาด) เอาะหลามจะไม่เป็นเอาหลามถ้าไม่ได้ใส่ “สะคาน” เอาะหลามมีหน้าตาคล้ายต้มจับฉ่าย หรือแกงโฮะ คือนำส่วนผสมทั้งหมดมาต้มรวมกัน แต่มีลักษณะที่ข้นกว่าเพราะข้าวเหนียวที่เคี่ยวจนข้น การทำเอาะหลามใช้เวลาเตรียมค่อนข้างนาน แต่ดั้งเดิมชาวหลวงพระบางจะนิยมทำกินกันในช่วงเวลาพิเศษเท่านั้น

                           8.สลัดหลวงพระบาง หน้าตาดูจะคล้ายกับสลัดผักน้ำ มีเพียงผักบางรายการที่เพิ่มเข้ามา และถั่วลิสงคั่วโรยตอนสุดท้าย  ลักษณะของผักน้ำ ลำต้นขนาดเล็กยาว แต่อวบเพราะเลี้ยงอยู่ในแม่น้ำ เวลาเคี้ยวจะรู้สึกถึง ความกรอบของผัก พบเห็นได้ตามตลาดเช้า
7.ซุปไก่ (Chicken Soup) เป็นอาหารยอดนิยมของลาว มีส่วนผสมสำคัญ ได้แก่ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ 
                 กระเทียม  
หอมแดง รวมถึงรสชาติเปรี้ยว ๆ เผ็ด ๆ จากมะนาวและพริก รับประทานร้อน ๆ กับข้าวเหนียว
 6.ไคแผ่นทอด(ไคแผ่น) เป็นอาหารกินเล่นยอดนิยมของชาวลาว “ไค” คือสาหร่ายน้ำจืด ที่ล้างสะอาดแล้วมาทำเป็นแผ่นแล้วแล้วไปตากให้แห้ง และนำไปทอด โรยด้วยงาและมะเขือเทศ เป็นอาหารกินเล่นขึ้นชื่อของหลวงพระบาง
5.ข้าวเปียก หน้าตาจะคล้ายก๋วยเตี๋ยวประเทศไทยและเฝอของประเทศลาว แต่ที่จะแต่ต่างอย่างเห็นได้ชัดคือเส้นของข้าวเปียกจะเป็นเส้นกลมๆและมีความเหนี่ยวกว่า จะโรยหน้าด้วยผักชี หมูยอ และมีผักสดเป็นเครื่องเคียง
4.ส้มตำ หรือตำหมากหุ่ง หน้าตา รสชาติ วัตถุดิบ เหมือนส้มตำประเทศไทย แต่ที่ประเทศลาวบางร้านจะใส่กะปิลงไปด้วยจึงทำให้รสชาติมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่ก็ยังถือว่าส้มตำเป็นอาหารที่นิยมของคนลาวที่หากินได้ง่าย
3.ลาบ เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของคนลาวอีกอย่างหนึ่ง ส่วนหนึ่งมาจากชื่อของอาหารหารที่มีความหมายดี ฉะนั้นในงานเลี้ยงต่างๆของประเทศลาวมักจะมีลาบเสิร์ฟด้วย และลาบที่นิยมมากที่สุก คือลาบไก่งวงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ จะใส่ดีวัวลงไปด้วยให้มีรสชาติขมนิดๆ

2.บาแกตต์ (ข้าวจี่, แป้งจี่) เป็นขนมปังฝรั่งเศส หน้าตาคล้ายแซนด์วิช สามารถใส่ไส้ ผักสด เนื้อสัตว์ แฮม หมูยอ ตับบด เป็นต้น มีให้เลือกทั้งก้อนเล็ก กลาง ใหญ่ เรียกได้ว่าก้อนเดียวอิ่มไปทั้งมื้อ
1.เฝอ ถือว่าเป็นอาหารจานด่วนที่มีทั่วไปทุกเมือง หน้าตาไม่ต่างกับก๋วยเตี๋ยวน้ำใสประเทศไทยนิยมใส่เนื้อสัตว์เพื่อเพิ่มรสชาติและจะมีผักสดเป็นเครื่องเคียง ปรุงรสด้วยมะนาว กะปิ พริกเผา และน้ำปลา จะให้อร่อยมันต้องเติมซอสพริก(ที่นำเข้าจากไทย) ซึ่งวางเป็นเครื่องปรุงอยู่กลางโต๊ะนั่นแหล่ะ มันจะทำให้น้ำซุปเปลี่ยนเป็นสีแดงข้น รสชาติหวานๆเปรี้ยวๆอร่อยดี
                               อาหารลาว                                                  นางสาว นิลาวรรณ ผาเเพน ติดต่อได้ที่ 0616170929